อาจารย์วันนอร์คือใคร? รู้หรือไม่เคยเป็นประธานสภาฯ มาแล้ว และเป็น ส.ส. 11 สมัย

 อาจารย์วันนอร์คือใคร? รู้หรือไม่เคยเป็นประธานสภาฯ มาแล้ว และเป็น ส.ส. 11 สมัย

DINGDONG หวยออนไลน์ แอพซื้อหวยออนไลน์ จ่ายจริง ไม่มีเลขปิดรับ ไม่มีเลขอั้น อัตราจ่าย 900/95 ทุกประเภทหวยออนไลน์บนเว็บ แถมมีกลุ่มแนวทางหวยให้เข้าฟรี!!

วันนอร์ คือชื่อย่อที่หลายคนใช้พูดถึง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ผู้ที่คอการเมืองทราบกันดีว่าอยู่ในแวดวงการเมืองมาอย่างยาวนาน ทั้งยังเคยเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วระหว่างปี 2539-2543

ขณะเดียวกัน ก็เชื่อว่ามีหลายคนที่อาจเคยแค่ได้ยินชื่อหรือไม่รู้จักมาก่อนว่านายวันมูหะมัดนอร์มีเส้นทางชีวิตในทางการเมืองอย่างไร จึงขอพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับนักการเมืองอาวุโสรายนี้ให้มากขึ้น

นายวันมูหะมัดนอร์เป็นชาวจังหวัดยะลา เกิดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2487 จบปริญญาตรีด้านครุศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนเริ่มทำงานเป็นครูใหญ่ โรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์ จ.นราธิวาส เมื่อปี 2507

ส.ส. 11 สมัย อยู่มาแล้วทุกยุค!

เมื่อปี 2522 นายวันมูหะมัดนอร์ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรกในนามพรรคกิจสังคม โดยขณะนั้นสังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมานักการเมืองรายนี้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์และร่วมก่อตั้งกลุ่มวาดะห์ขึ้นมาเมื่อปี 2529

กลุ่มวาดะห์มีการย้ายพรรคหลายครั้ง จนกระทั่งปี 2535 ที่ร่วมก่อตั้งพรรคความหังใหม่กับ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ขณะนั้นเป็นรองหัวหน้าพรรค

เมื่อปี 2539 พรรคความหวังใหม่ชนะการเลือกตั้ง ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ได้รับเลือกจากเสียงส่วนใหญ่ในสภาฯ ให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ก่อนลาออกในปี 2543

รูปของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เมื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรปี 2539รัฐสภารูปของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เมื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรปี 2539

หลังการเลือกตั้งปี 2544 พรรคความหวังใหม่ยุบเข้ากับพรรคไทยรักไทย แต่หลังรัฐประหารปี 2549 นายวันมูหะมัดนอร์ถูกตัดสิทธิทางการเมืองพร้อมกับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยรวม 111 คน นาน 5 ปี

เมื่อปี 2561 มีการก่อตั้งพรรคประชาชาติขึ้นเพื่อลงเลือกตั้งในปี 2562 นายวันมูหะมัดนอร์ก็ได้กลับเข้าสู่วงการการเมืองอีกครั้งในฐานะ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และเมื่อปี 2566 นายวันมูหะมัดนอร์ ก็ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอีก รวมแล้วเป็น ส.ส. ถึง 11 สมัย ดังนี้

  1. 2522 จ.ยะลา พรรคกิจสังคม
  2. 2529 จ.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์
  3. 2531 จ.ยะลา พรรคประชาชน
  4. 2535 (มีนาคม) จ.ยะลา พรรคความหวังใหม่
  5. 2535 (กันยายน) จ.ยะลา พรรคความหวังใหม่
  6. 2538 จ.ยะลา พรรความหวังใหม่
  7. 2539 จ.ยะลา พรรคความหวังใหม่
  8. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ พรรคความหวังใหม่
  9. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย
  10. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ
  11. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“โรม” มอง กกต.ลุยสอบ “พิธา” ม.151 เป็นการเตะตัดขาตั้งรัฐบาล

แผงหวยแตกแล้ว เลขเด็ด "พิธา" ใบ้หวยบนเวทีปราศรีย ลั่นงวดนี้ออก 367 แน่นอน

เริ่มแล้ว! ไม่ตรวจเอกสารโควิดผู้เดินทางเข้าไทย-ยกเลิกแอปไทยชนะ